วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สภาพอากาศประเทศมาเลเซีย



ลักษณะภูมิอากาศ คือ ประเทศมาเลเซียมีลักษณะภูมิอากาศคล้ายคลึงกับภาคใต้ของประเทศไทย แต่ เนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นสูตรและได้รับอิทริผลจากลมมรสุมจากมหวสมุทรอินเดียและ ทะเลจีนใต้จึงมีผลทำให้อุณภูมิไม่สูงนัก มีฝนตกเกือบตลอดปี และมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าประเทศไทย ไม่มีฤดูแล้งชัดเจน ทำให้ประเทศมาเลเซียมีปาไม้ อุดมสมบูรณ์

 

                                                    แผนที่ประเทศมาเลเซีย


ที่มา:http://asean-malaysia.blogspot.com/

ชุดประจำชาติมาเลเซีย


สำหรับชุดประจำชาติมาเลเซียของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและ
กางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย หรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้าย ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า
บาจูกุรุง (Baju Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาว และกระโปรงยาว




                        บาจู มลายู





                       บาจูกุรุง
ที่มา: https://sites.google.com

ศาสนาประจำชาติมาเลเซีย


 ศาสนาประจำชาติของประเทศมาเลเซียคือ ศาสนาออิสลาม
ชาวมาเลเซียประมาณร้อยละ 60 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 19 นับถือ ศาสนาพุทธ และ ร้อยละ 12 นับถือศาสนาคริสต์

 
ศาสนาอิสลามได้เผยแผ่เข้ามาในคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะใกล้เคียงเมื่อประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 ประเทศมาเลเซียได้นำหลักการของคัมภีร์อัลกุรอานในศาสนาอิสลามเข้ามามีส่วนในการปกครอง เช่น ประมุขหรือสุลต่านแห่งรัฐต้องต้องเป็นอิสลามิกชน โดยถือว่าฐานะของสุลต่านอยู่สูงทั้งทางศาสนาและทาง การเมืองการปกครอง สุลต่านจะแต่งตั้งผู้พิพากษาทางศาสนาซึ่งจะพิจารณาแต่คดีที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลามและกฎหมายประเพณีในเรื่องที่เกี่ยวข้องด้านศาสนา



















ที่มา:https://th.wikipedia.org

ภาษาประจำชาติประเทศทาเลเซีย



ภาษาราชการ คือ ภาษามลายู (หรือภาษามาเลย์) ส่วนภาษาอื่นๆที่ใช้ในการติดต่อได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาพื้นเมือง

ภาษามลายูเป็นเป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเชียน ใช้ในกลุ่มชนชาติมลายูซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของคาบสมุทรมลายู ทางใต้ของประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์บางส่วนของเกาะสุมาตรา และประเทศติมอร์ – เลสเต ทั้งนี้นอกจากจะเป็นภาษาทางการของประเทศมาเลเซียและประเทศบูรไนแล้ว ยังเป็น 1 ใน 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์อีกด้วย เช่น

Hello สวัสดี ซาลามัต ดาตัง

Good morning สวัสดีตอนเช้า วาลามัต ปากี

Good afternoon สวัสดีตอนบ่าย ซาลามัต เปอตัง

Good evening สวัสดีตอนเย็น ซาลามัต เปอตัง

Good night ราตรีสวัสดิ์ ซาลามัต มาลาม

Good bye ลาก่อน ซาลามัต ติงกาล หรือ ซาลามัต จาลัน

Thank you ขอบคุณ เตอริมา กาสีห์

How are you? สบายดีไหม อาปา กาบาร์

l’m fine สบายดี กาบาร์ บาอิก


ที่มา:http://www.dmc.tv/

แหล่งท่องเที่ยวประเทศมาเลเซีย



    อาคารหอคอยคู่เปโตรนาส(อังกฤษ: Petronas Twin Towers)

เป็นสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของเมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ออกแบบโดย เซซาร์ เปลลี ตั้งอยู่บริเวณใจกลางย่านธุรกิจของเมือง ที่แวดล้อมด้วยสวนสาธารณะ และส่วนอาคารคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ (KLCC-Kuala Lumpur Convention Center) อาคารเปโตรนาส มี 2 อาคารหอคอย ซึ่งนับเป็นอาคารแฝดที่สูงที่สุดของโลก ด้วยความสูง 451.9เมตร (อาคารเดี่ยวที่สูงที่สูงของโลกคือ บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ สูง 828เมตร)[1]

อาคารเปโตรนาสเป็นอาคารสำนักงาน ประกอบด้วยสำนักงานของบริษัทพลังงานและน้ำมันที่มีรัฐบาลมาเลเซียเป็นหุ้นหลักได้แก่ บริษัทเปโตรนาส(ปิโตรเลียมนาชันแนลเบอร์ฮาด) คือ บริษัท ปิโตรเลียมแห่งชาติ จำกัด ของมาเลเชีย ส่วนอื่นๆให้บริษัทอื่นๆเป็นผู้เช่า ได้แก่ บริษัททางการเงินและธนาคาร บริษัทผลิตภัณฑ์เคมีที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ลักษณะเด่นเมื่อเปรียบเทียบกับตึกระฟ้า อื่นๆของโลก คือการที่เป็นอาคารหอคอย 2 อาคาร เชื่อมโดยสะพานลอยฟ้า (skybridge) อาคารแฝดใช้บริษัทรับเหมาก่อสร้างจาก 2 ประเทศ คือญี่ปุ่น และเกาหลี โดยมีนัยยะเป็นการแข่งขันกันเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารตึกระฟ้า สะพานลอยฟ้านี้เคยใช้เป็นที่ถ่ายทำภาพยนตร์ฮอลีวูดมาแล้ว ปัจจุบันเปิดให้จองลงทะเบียนขึ้นไปชมวิวที่จุดนี้ (จำนวนจำกัด) โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เปิดอนุญาตให้ลงทะเบียนในช่วงเช้า เมื่อครบจำนวนจะหยุดให้ลงทะเบียนทันที

บริเวณฐานของอาคารมีห้างทันสมัยหลายห้าง เช่น อิเซตัน และนอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบรอบๆเป็นอาคารคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ (ศูนย์ประชุม) สวนสาธารณะ สวนน้ำ สระน้ำพุดนตรี พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ (Discovery museum) และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำอควาเรีย (Aquaria)


ที่มา:https://th.wikipedia.org

ประชากรประเทศมาเลเซีย



ประชากร

   
     ประเทศมาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ในอดีตเคยเกิดสงครามกลางเมืองเนื่องจากการกีดกันทางเชื้อชาติ ประเทศมาเลเซียประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูร้อยละ 50.4 เป็นชาวภูมิบุตร (Bumiputra) คือบุตรแห่งแผ่นดิน รวมไปถึงชนดั้งเดิมของประเทศอีกส่วนหนึ่ง ได้แก่กลุ่มชนเผ่าในรัฐซาราวัก และรัฐซาบาห์มีอยู่ร้อยละ 11 ซึ่งตามรัฐธรรมนูญของมาเลเซียนั้น ชาวมลายูนั้นคือมุสลิม และอยู่ในกรอบวัฒนธรรมมลายู แต่ชาวภูมิบุตรที่ไม่ใช่ชาวมลายูนั้น มีจำนวนกว่าครึ่งของประชากรในรัฐซาราวัก (ได้แก่ชาวอิบัน ร้อยละ 30) และร้อยละ 60 ของประชากรรัฐซาบาห์ (ได้แก่ชาวกาดาซัน-ดูซุน ร้อยละ 18 และชาวบาเจา ร้อยละ 17) นอกจากนี้ยังมีชนพื้นเมืองดั้งเดิมของคาบสมุทรมลายูอีกกลุ่มหนึ่ง คือ โอรัง อัสลี

      ประชากรกลุ่มใหญ่ที่ไม่ใช่ชาวภูมิบุตรหรือชนดั้งเดิมเป็นพวกที่เข้ามาใหม่ โดยเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน มีอยู่ร้อยละ 23.7 ซึ่งมีประจายอยู่ทั่วประเทศ มีชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย อีกร้อยละ 7.1 ของประชากร ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวทมิฬ แต่ยังมีชาวอินเดียกลุ่มอื่น อย่างเกรละ, ปัญจาบ, คุชรัต และปาร์ซี นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย โดยอาศัยอยู่ในรัฐทางตอนเหนือของประเทศ มีคนเชื้อสายชวา และมินังกะเบาในรัฐทางตอนใต้ของคาบสมุทรอย่าง รัฐยะโฮร์ ชุมชนลูกครึ่งคริสตัง (โปรตุเกส-มลายู) ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และชุมชนลูกครึ่งอื่นๆอย่าง ฮอลันดา และอังกฤษส่วนมากอาศัยในรัฐมะละกา ส่วนลูกครึ่งเปอรานากัน หรือชาวจีนช่องแคบ (จีน-มลายู) ส่วนมากอาศัยอยู่ในรัฐมะละกา และมีชุมชนอยู่ในรัฐปีนัง

ที่มา:http://www.oknation.net/

เศษฐกิจ



  เศรษฐกิจ



1.เกษตรกรรม ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก และข้าวเจ้าปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน

2.การทำเหมืองแร่ แร่ที่สำคัญ ได้แก่ แร่ดีบุกส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกแร่เหล็ก น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ

3.การทำป่าไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ส่งไม้ออกเป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย

4.อุตสาหกรรม ได้ชื่อว่าเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชีย (NICs)


ที่มา: http://www.oknation.net/


อาหารประจำชาติ


                 นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak)

นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) อาหารยอดนิยมของมาเลเซีย คือข้าวหุงกับกะทิและใบเตย ทานพร้อม
เครื่องเคียง 4 อย่างได้แก่ ปลากะตักทอดกรอบ แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุก และถั่วอบ นาซิ เลอมักแบบดั้งเดิมจะห่อด้วยใบตองและมักทานเป็นอาหารเช้า แต่ในปัจจุบัน กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่ทานได้ทุกมื้อ และแพร่หลาย
ในประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายแห่ง เช่น สิงคโปร์ และภาคใต้ของไทย



  แกงหัวปลา ( Curry Fishhead )
แกงหัวปลา ( Curry Fishhead ) แกงหัวปลาเป็นอาหารมาเลที่ผสมผสานด้วยเครื่องเทศและใบการี่ลีฟ
ซึ่งเป็นผักของอินเดีย รสชาตินั้นกลมกล่อมมาก เคล็ดลับที่สำคัญของอาหารจานนี้คือหัวปลาจะต้องไม่คาวเพราะ
หากหัวปลาคาวแล้วก็จะทำให้น้ำแกงคาวไปด้วยและทำให้รสชาติไม่อร่อย

ที่มา:https://sites.google.com

วัฒนธรรมประเทศมาเลเซีย

วัฒนธรรม และประเพณีต่างๆของมาเลเซีย


   
       หลายคนคงรู้จักการละหมาด ซึ่งประเทศมาเลเซียนั้นมีผู้นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในประเทศ โดยมีมากถึง 55% การ ละหมาด เป็นการปฏิบัติศาสนกิจอย่างหนึ่งในศาสนาอิสลาม เพื่อเป็นการภักดีต่ออัลลอฮฺ มุสลิมทุกคนจะต้องละหมาด วันละ 5 เวลา เรียกว่า ละหมาดฟัรฎู ละหมาด หมายถึง การขอพร ความหมายทางศาสนาหมายถึง การกล่าวและการกระทำ ซึ่งเริ่มต้นด้วยตักบีร และ จบลงด้วยสะลาม การละหมาดเป็นการสร้างเอกภาพอย่างหนึ่งของมุสลิม เมื่อละหมาดมุสลิมทั่วโลก หันหน้าไปทางกิบละฮฺ เพื่อเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ การละหมาด ฝึกฝนให้เป็นคนตรงต่อเวลา มีความอดทน และขัดเกลาจิตใจ ให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่ประพฤติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางชั่วร้าย มีสภาพคล้ายคลึงกับประเทศอินโดนีเซีย ชึ่งเป็นหมู่เกาะอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้แพร่เข้ามาในแหลมมลายู ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม 55% นับถือศาสนาพุทธ 25% นับถือศาสนาคริสต์ 13% นับถือศาสนาฮินดู 7% และลัทธิศาสนาพื้นเมือง 4% แต่การหันไปนับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามเป็นปัญหาอย่างมากเนื่องจากทาง ภาครัฐจะไม่เปลี่ยนข้อมูลทางราชการให้ มาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะมีสิทธิพิเศษ คือ ได้รับเงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณะสุข การคลอดบุตร งานแต่งงานและงานศพตามนโยบาย "ภูมิบุตร


ที่มา:http://www.lampangvc.ac.th/

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ระบบการปกครองประเทศมาเลเซีย


ระบบการปกครอง



    มาเลเซียปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ การปกครองเป็นแบบสหพันธรัฐ มีรัฐบาลกลางแห่งสหพันธรัฐ และรัฐบาลของแต่ละรัฐ โดยรัฐบาลกลางตั้งอยู่ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซีย ส่วนรัฐบาลแห่งรัฐตั้งอยู่ในแต่ละรัฐ รวมทั้งสิ้น ๑๓ รัฐ โดยมีประมุขของรัฐเป็นสุลต่านหรือผู้ว่าการรัฐดังนี้

รัฐที่มีสุลต่านเป็นประมุข จำนวน ๙ รัฐ ได้แก่ เปรัค ปาหัง เซลัง-งอร์ เปอร์ลิส เคดาห์ เนกรีเซมบิลัน ยะโฮร์ กลันตัน และตรังกานู

รัฐที่มีผู้ว่าการรัฐเป็นประมุข จำนวน ๔ รัฐ ได้แก่ ปีนัง มะละกา ซาราวัค และ ซาบาห์

นอกจากนี้ยังมีเขตสหพันธรัฐ (Federal Territory) อีก ๒ เขต คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ และเกาะลาบวน (อยู่ทางมาเลเซียตะวันออกใกล้กับ บรูไน ดารุสซาลาม)



ที่มา:https://blog.eduzones.com

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ภูมิศาสตร์ของประเทศมาเลเซีย

                                                             ลักษณะภูมิประเทศ
     
มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บนแหลมมลายู ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าไม้ ภูเขา และหนองบึง ประมาณร้อยละ ๗๐ ของพื้นที่
บริเวณชายฝั่งตะวันตก ที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย และช่องแคบมะละกา เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ชายฝั่งเต็มไปด้วยหนองบึง และป่าไม้โกงกาง ผิวดินเป็นดินเหนียว และโคลนตม คงมีเหลือพื้นที่ราบซึ่งเป็นดินทรายบางบริเวณ พื้นดินตอนในห่างจากบริเวณที่ราบชายฝั่งสองด้าน ค่อย ๆ เปลี่ยนระดับเป็นที่ราบสูง บริเวณเชิงเขา พื้นดินส่วนใหญ่เป็นดินแดง และดินปนทราย ดินเหนียวและดินลูกรัง
มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวตอนเหนือ ลักษณะภูมิประเทศแบ่งออกได้เป็นสามส่วนคือ
ที่ราบชายฝั่ง และริมทะเลมีหนองบึง และป่าโกงกาง ที่เชิงเขา และทิวเขาสูงมีความสูงชัน มีเหวลึกปกคลุมด้วยป่าทึบยากแก่การสัญจร มียอดเขาสูงสุดอยู่ทางภาคเหนือ มีลักษณะผิวดินแตกต่างกันออกไป บริเวณพื้นที่รอบชายฝั่งส่วนใหญ่เป็นประเภทดินเหนียว และดินโคลนตม ซึ่งมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา ในบริเวณบางแห่งมีกรวดทรายปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก
เทือกเขา เทือกเขาสำคัญของมาเลเซียประกอบด้วยเทือกเขาบินดัง เทือกเขาโกฮิมหรือเทือกเขากลาง เทือกเขาตรังกานู ในแหลมมลายู และเทือกเขากินาบาลู ในเกาะบอร์เนียว ซึ่งมียอดเขาโกตาคินาบาลูเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในมาเลเซีย
แหล่งน้ำ ในแหลมมลายูมีแม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำคาดาห์ แม่น้ำซุนดา แม่น้ำเกรียน แม่น้ำเปรัค แม่น้ำปาหัง แม่น้ำกลันตัน แม่น้ำมุดา แม่น้ำเบอร์นัม แม่น้ำสลังงอร์และแม่น้ำกลัง
ในเกาะบอร์เนียวมีแม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำรายัง มีความยาวประมาณ ๕๖๐ กิโลเมตร แม่น้ำมาลุย ยาวประมาณ ๔๐๐ กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำกินาบาดางัน
ชายฝั่งทะเล ในแหลมมลายูฝั่งทะเลด้านตะวันออกติดต่อกับทะเลจีนใต้ ลักษณะท้องทะเลในบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยปะการัง และหินใต้ทะเลน้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก เหมาะแก่การเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำต่าง ๆ ฝั่งทะเลมีความยาวประมาณ ๑,๙๐๐ กิโลเมตร บริเวณชายฝั่งมีความลึกตั้งแต่ ๑๒๐ - ๓๐๐ ฟุต เป็นหาดทรายยาวเหยียดติดต่อกัน มีที่ราบลุ่มอยู่เป็นบางตอน ฝั่งทะเลด้านตะวันตกเป็นหาดเลน พื้นที่ลึกเข้าไปในบริเวณชายฝั่งเป็นที่ลุ่ม และหนองบึง และป่าไม้โกงกาง คงมีเฉพาะบางแห่งเท่านั้นที่มีหาดทราย
ในเกาะบอร์เนียว ฝั่งทะเลบริเวณใต้สุดของทะเลจีนใต้ ท้องทะเลในบริเวณดังกล่าวมีความลึกพอสมควร มีกลุ่มหินปะการังอยู่เป็นหย่อม ๆ ในระยะลึก นอกจากนั้นยังมีหินใต้น้ำอยู่เป็นบางตอนในบริเวณใกล้ชายฝั่ง เป็นอุปสรรคในการเดินเรือใกล้ฝั่ง บริเวณฝั่งทะเลรัฐซาราวัคมีความลึกใกล้ฝั่งประมาณ ๒๐ - ๓๐ ฟุต ห่างออกไปจากฝั่ง บางพื้นที่ลึกมาก บางแห่งลึกประมาณ ๒๐๐ - ๓๐๐ ฟุต
บริเวณชายฝั่งของรัฐซาบาห์ ทิศเหนือติดต่อกับทะเลจีนใต้ ความลึกของทะเลมีมากกว่ารัฐซาราวัค
ลักษณะภูมิอากาศ คือ ประเทศมาเลเซียมีลักษณะภูมิอากาศคล้ายคลึงกับภาคใต้ของประเทศไทย แต่ เนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นสูตรและได้รับอิทริผลจากลมมรสุมจากมหวสมุทรอินเดียและ ทะเลจีนใต้จึงมีผลทำให้อุณภูมิไม่สูงนัก มีฝนตกเกือบตลอดปี และมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าประเทศไทย ไม่มีฤดูแล้งชัดเจน ทำให้ประเทศมาเลเซียมีปาไม้ อุดมสมบูรณ
ที่มา :http://pirun.ku.ac.th/~b5510851759/1.html

ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกแนะนำข้อมูลพื้นฐานประเทศมาเลเซีย