วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เมืองสำคัญทางเศษรฐกิจของประเทศมาเลเซีย


                                               กัวลาลมเปอร์ และ ปัตตาลิงจายา
สินค้าสําคัญเครื่องใช้ไฟฟ้าและ อิเลคทรอนิกส์เครื่องจักรเคมีภัณฑ์การท่องเที่ยว IT การศึกษา ไบโอเทคโนโลยี


                                            ปีนัง ยะโฮร์บารูลังกาวีมะละกา ควนตันเคอมามัน คูชิง โกตากินาบาลู 
สินค้าที่สำคัญได้แก่ น้ํามันดิบ ก๊าซธรรมชาติยางพารา ปาล์มน้ํามัน การท่องเที่ยว 

                                      
                                                 อีโปห์โกตาบารูกัวลาตรังกาน  
สินค้าที่สำคัญได้แก่ โกโก้ไม้ข้าว ยางพารา ปาล์ม น้ํามันดิบ ก๊าธรรมชาติ

ที่มา: http://www.opsmoac.go.th/

ทรัพยากรณ์ธรรมชาติของประเทศมาเลเซีย


 เกษตรกรรม ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก และข้าวเจ้าปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน
การทำเหมืองแร่ แร่ที่สำคัญ ได้แก่ แร่ดีบุกส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกแร่เหล็ก น้ำมัน และแก๊ส    ธรรมชาติ
การทำป่าไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ส่งไม้ออกเป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย
อุตสาหกรรม ได้ชื่อว่าเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชีย (NICs)


ที่มา: https://samita2039.wordpress.com

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ศิลปะเเละวัฒนธรรมประเทศมาเลเซีย

      มาเลเซียประกอบด้วยชนจากหลายเผ่าพันธ์ุ (พหุสังคม) รวมกันอยู่ บนแหลมมลายูมากว่า 1,000 ปี ประกอบด้วยเชื้อชาติใหญ่ๆ 3 กลุ่ม คือ ชาวมลายู ชาวจีน และชาวอินเดีย อาศัยอยู่บนแหลมมลายู ส่วนชนพื้นเมืองอื่นๆ เช่น อิบัน (Ibans) ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในรัฐซาราวัค และคาดาซัน (Kadazans) อาศัยอยู่ในรัฐซาบาห์ ด้วยประชากรหลากหลายเชื้อชาติภายในประเทศ ทำให้เกิดการหล่อหลอมของวัฒนธรรมและส่งผลต่อ การดำรงชีวิตของชาวมาเลเซีย จึงเกิดประเพณีที่สำคัญมากมาย อาทิเช่น


การรำซาบิน (Zapin) :
     เป็นการแสดงการฟ้อนรำหมู่ ซึ่งเป็นศิลปะพื้นเมืองของชาวมาเลเซีย โดยเป็นการฟ้อนรำที่ได้รับอิทธพลมาจาก ดินแดนอาระเบีย โดยมีผู้แสดงเป็นหญิง ชาย จำนวน 6 คู่ เต้นตามจังหวะของกีตาร์แบบอาระเบีน และ กลอง เล็กสองหน้าที่บรรเลงจากช้าไปเร็ว


เทศกาลทาเดา คาอามาตัน (Tadau Kaamatan) :
     เป็นเทศกาลประจำปีในรัฐซาบาห์ จัดในช่วงสิ้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดของฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวและเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ โดยจะมีพิธีกรรมตามความเชื่อในการทำเกษตร และมีการแสดงระบำพื้นเมือง และขับร้องบทเพลงท้องถิ่นเพื่อเฉลิมฉลองอีกด้วย


ที่มา: http://www.asean-info.com/

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

เมืองหลวงประเทศมาเลเซีย


ประเทศมาเลเซีย เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)


กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซีย

กรุงกัวลาลัมเปอร์เมืองหลวงของประเทศมาเลเซียนั้นตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกของประเทศ (ใกล้ฝั่งทะเลอันดามัน) เป็นเมืองใหญ่และสำคัญที่สุดของประเทศ มีพื้นที่ 94 ตารางไมล์ หรือ 243 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 1.6 ล้านคน ถึงแม้จะมีการย้ายศูนย์การบริหารประเทศไปที่เมืองปุตราจายาแล้ว แต่ส่วนอื่นๆที่สำคัญของประเทศยังอยู่ที่เดิม โดยปกติแล้วชาวมาเลเซียจะเรียกกรุงกัวลาลัมเปอร์ว่า “เคแอล, KL” ซึ่งเป็นตัวย่อของ Kuala Lumpur นั่นเอง


ที่มา: http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

สัตว์ประจำชาติประเทศมาเลเซีย



            เสือโคร่งเป็นสัตว์ประจำชาติมาเลเซีย
เสือโคร่งเป็นสัตว์ประจำชาติมาเลเซีย มีถิ่นฐานอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของคาบสมุทรมลายู โดยเสือโคร่งนั้นได้รับการยกย่องอย่างสูงยิ่ง ดังปรากฏอยู่บนตราแผ่นดินของมาเลเซียเพื่อแสดงถึงกำลังและความกล้าหาญของชาวมาเลเซีย อีกทั้งยังใช้เป็นสมญานามของฟุตบอลทีมชาติมาเลเซียอีกด้วย


ที่มา: http://aec-business.blogspot.com/

ตราแผ่นดินประเทศมาเลเซีย



ตราแผ่นดินของมาเลเซีย (มาเลย์: Jata Negara) ประกอบด้วยส่วนหลักๆห้าส่วนคือ โล่ เสือโคร่งสองตัว พระจันทร์เสี้ยวสีเหลือง และดาวสีเหลือง 14 แฉก และแถบผ้า ตราแผ่นดินของมาเลเซียนี้สืบทอดมาจากตราแผ่นดินสหพันธรัฐมาลายาระหว่างที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ตราในปัจจุบันจึงมีอิทธิพลของตราแบบตะวันตกอยู่มาก








ที่มา: https://th.wikipedia.org